วิกฤติน้ำท่วมน่าน’54


วิกฤติน้ำท่วมน่าน’54.

โครงการsocial media


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง บอกกล่าวการสร้างคลิป


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง บอกกล่าวการสร้างคลิป
รหัส ง32245 ชื่อรายวิชา การสร้างสรรค์งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 15 ชั่วโมง ผู้สอน นางสาวอริศรา สะสม

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ง ๓. ๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
ผลการเรียนรู้
1. สร้างงานด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อประสมได้
2. นำเสนอชิ้นงานที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีเว็บ
3. มีความสามารถในการคิด การใช้เทคโนโลยี ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย
4.สร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
สาระสำคัญ
วิดีโอคลิป หรือ คลิปวิดีโอ คือ ไฟล์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุเนื้อหาเป็นภาพยนตร์สั้น มักจะตัดตอน
มาจากภาพยนตร์ทั้งเรื่องซึ่งมีขนาดความยาวปกติ คลิปมักจะเป็นส่วนที่สำคัญ หรือต้องการนำมาแสดง
มีความขบขัน หรืออาจเป็นเรื่องความลับที่ต้องการนำมาเผยแพร่ จากต้นฉบับเดิม แหล่งของวิดีโอคลิป ได้แก่ ข่าว ข่าวกีฬา มิวสิกวิดีโอ รายการโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ปัจจุบันมีการใช้วิดีโอคลิปแพร่หลาย เนื่องจากไฟล์คลิปนี้มีขนาดเล็ก สามารถส่งผ่านอีเมล หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ได้สะดวก ในประเทศตะวันตก
เรียกการแพร่หลายของวิดีโอคลิปนี้ว่า วัฒนธรรมคลิป (Clip Culture)
สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
– การใช้โปรแกรม Ulead
o การดาวส์โหลดโปรแกรม
o การค้นหาคู่มือการใช้ในอินเทอร์เน็ต
o การค้นหาคลิปการใช้โปรแกรม
o ฝึกใช้โปรแกรมตัดต่อ

– ความรู้เกี่ยวกับคลิป ความหมาย คุณค่า ประโยชน์
– การออกแบบสร้างคลิป

– การใช้กล้องถ่ายวีดิโอ
– การถ่ายทำคลิปวีดิโอ

– นำคลิปลงใน http://www.youtube.com และบล็อกของตนเอง

ด้านทักษะ/กระบวนการ/กระบวนคิด (P)
ปฏิบัติการสร้างคลิป และปรับแต่งให้เหมาะสม สวยงาม
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
ชิ้นงานหรือภาระงาน
1.คลิป วิดีโอ คนละ 1 คลิป
การประเมิน
1.คลิป วิดีโอ คนละ 1 คลิป
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการสอนแบบ การสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
1. ขั้นนำ (orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (elicitation of the prior knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน วิธีการให้ผู้เรียนแสดงออก อาจทำได้โดยการอภิปรายกลุ่ม การให้ผู้เรียนออกแบบโปสเตอร์ หรือการให้ผู้เรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่เขามีอยู่ ผู้เรียนอาจเสนอความรู้เดิมด้วยเทคนิคผังกราฟฟิก (graphic organizers) ขั้นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (cognitive conflict) หรือเกิดภาวะไม่สมดุล (unequillibrium)
3. ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (turning restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
3.1 ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน (clarification and exchange of ideas) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อได้พิจารณาความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับของคนอื่น ผู้สอนจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่น กำหนดประเด็กกระตุ้นให้คิด
3.2 การสร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas) จากการอภิปรายและการสาธิต ผู้เรียนจะเห็นแนวทางแบบวิธีการที่หลากหลายในการตีความปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์แล้วกำหนดความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่
3.3 ประเมินความคิดใหม่ (evaluation of the new ideas) โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดหรือความรู้ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่ เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวคิดใหม่มากกว่า
4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (application of ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย เป็นการแสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การเรียนรู้ที่ไม่มีการนำความรู้ไปใช้เรียกว่า เรียนหนังสือไม่ใช่เรียนรู้
5. ขั้นทบทวน (review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิด ความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างด้วยตนเองนั้นจะทำให้เกิดโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ปรากฏในช่วงความจำระยะยาว (long-term memory) เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนสามารถจำได้ถาวรและสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะโครงสร้างทางปัญญาคือกรอบของความหมาย หรือแบบแผนที่บุคคลสร้างขึ้น ใช้เป็นเครื่องมือในการตีความหมาย ให้เหตุผลแก้ปัญหา ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ นอกจากนี้ยังทบทวนเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทบทวนว่าจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างไร และยังมีเรื่องใดที่ยังสงสัยอยู่อีกบ้าง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
– แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
– ภาพคลิปวิดีโอ
https://kruarisara.wordpress.com

การตัดต่อวีดิโอ ด้วยโปรแกรม Ulead studio 11
ความรู้ทั่วไปของโปรแกรม

Creating and Adding Titles

ตัดต่อวีดีโอ ด้วย Ulead Videostudio 11

TUTORIAL ULEAD VIDEO STUDIO 11

แหล่งข้อมูลสำหรับศึกษาค้นคว้า
คู่มือการใช้โปรแกรม Ulead studio 11

การใช้โปรแกรม Ulead VideoStudio10 Plus

การตัดต่อวิดีโอโดยใช้โปรแกรม Ulead Studio

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง จิบๆโปรแกรมสร้างสื่อ


แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง จิบๆโปรแกรมสร้างสื่อ
รหัส ง32245 ชื่อรายวิชา การสร้างสรรค์งาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 8 ชั่วโมง ผู้สอน นางสาวอริศรา สะสม
—————————————————————————————————————————-

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ง ๓. ๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
ผลการเรียนรู้
1. สร้างงานด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อประสมได้
2. นำเสนอชิ้นงานที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีเว็บ
3. มีความสามารถในการคิด การใช้เทคโนโลยี ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานรักความเป็นไทย
4.สร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ
สาระสำคัญ
โปรแกรมนาโมนฟรีโมชั่นเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างภาพแอนิเมชั่น คล้ายๆกับ Macromedia Flashสามารถใช้สร้างแฟ้มข้อมูล นามสกุล swf,exe,htmlได้ สามารถสร้างงานนำเสนอบนโปรแกรมเบราเซอร์ได้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้สมรรถนะทางด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหาและด้านICTนอกจากนี้สามารถนำไปสร้างโครงงานคอมพิวเตอรืได้หลายรูปแบบ เช่น โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เกมส์คอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วย action script 2.0 หรือสูงกว่า ตามเวอร์ชั่นการใช้งาน ในการใช้โปรแกรมนาโมฟรีโมชั่นในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกให้นักเรียนสามารถสร้างงานการ์ตูนแอนิเมชั่น สามารถนำไปสร้างโครงงานคอมพิวเตอร์ตามความต้องการของผู้เรียนนั่นเอง
สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
โปรแกรมNamoFreemotion
– ความสามารถและสภาพแวดล้อมโปรแกรม
การใช้เครื่องมือของโปรแกรม
– การสร้างชิ้นงานด้วยโปรแกรม
– การออกแบบชิ้นงาน
– การสร้างชิ้นงาน
ด้านทักษะ/กระบวนการ/กระบวนคิด (P)
ปฏิบัติการสร้างตัวการ์ตูน และปรับแต่งให้เหมาะสม สวยงาม
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
ชิ้นงานหรือภาระงาน
1.ตัวการ์ตูนคนละ 1 ตัว
การประเมิน
1.ตัวการ์ตูนคนละ 1 ตัว
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการสอน ทฤษฎี 8ขั้นของ กานเย่
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
– แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
– การ์ตูนที่สร้างจากโปรแกรม NamoFreemotion
https://kruarisara.wordpress.com

การสร้างลิงก์