ศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)


โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค EDUCATION HUB
Education Hub คือ ศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)

เมื่ออาเซียนรวมตัวกันเป็นประชาคม ซึ่งนั่นก็หมายถึงการมีสิทธิเสรีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิก

เนื่องจากกลุ่มประเทศในอาเซียนมีความหลากในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจการเมืองการปกครอง สภาพภูมิประเทศ ระบบการศึกษาประวัติศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มคน ที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่ต่างกัน อีกทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้นการสร้างที่ที่ต่างกัน อีกทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ
ดังนั้นการสร้างศูนย์กลางการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประชากรในอาเซียนสามารถปรับตัวต่อการเข้าร่วมเป็นประชาคมได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นอนาคตสำคัญจึงต้องจัดให้มีมาตรฐานการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ สีผิว และศาสนา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการจึงพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของนักเรียนจากประเทศเพื่อบ้านและชาวต่างชาติอื่นๆ ให้เข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ภายใต้โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)

========================================================================================
โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการและการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานในระดับสากลเพื่อรองรับนักเรียนต่างชาติ และพัฒนาการสู่เป็นการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่ สพฐ.คัดเลือกเข้าโครงการจำนวน 14 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย และโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตชายแดนไทยติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
การดำเนินการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคได้กำหนดกิจกรรมในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการโดย
1. สนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ (Resource Center) ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรทุกโรงเรียนในโครงการ มีศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ทันสมัย ครบวงจร ทั้งมุมสืบค้นมุมเรียนรู้ด้วยตนเอง และ Entertainment
2.จัดทำรูปแบบโรงเรียนในโครงการ โดยวิเคราะห์จากบริบทและความต้องการของแต่ละพื้นที่และโรงเรียน โดยจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับรูปแบบ ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรจากต่างประเทศโดยนำหลักสูตรสาระ และวิธีการสอนจากประเทศต่างๆ มาบูรณาการ นักเรียนสามารถเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้เพื่อศึกษาต่อได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยสพฐ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรนานาชาติของโรงเรียนที่สังกัด สพฐ.เพื่อพิจารณาหลักสูตรและการนำไปใช้ซึ่งโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรต่างประเทศ ได้แก่ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัดชลบุรี โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง และโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จังหวัดสงขลา
รูปแบบที่ 2 โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรพหุภาษา โดยใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมอาเซียนศึกษา IT ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาของประชาคมอาเซียน และภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้นักเรียนเลือกเรียนไห้ตามบริบทและความต้องการ การบูรณาการกับแนวคิดหลักสูตรสาระเพิ่มเติมโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีองค์ความรู้โลกศึกษา การเขียนเรียงความชั้นสูง และการสร้างสรรค์โครงงาน ได้แก่ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จังหวัดเชีงราย โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตากโรงเรียนประสาทวิทยา จังหวัดสุรินทร์ และโรงเรียนกันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ
รูปแบบที่ 3 โรงเรียนวิทย์ – คณิต สองภาษา ใช้หลักสูตรวิทย์ – คณิต และหลักสูตรจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เสริมความเข็มแข็งทางด้านวิชาการด้านอาเซียนศึกษา IT และจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการบูรณาการกับแนวคิดหลักสูตรสาระเพิ่มเติมโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล 4 สาระ ได้แก่ ทฤษฎีองค์ความรู้ โลกศึกษา การเขียนเรียงความขั้นสูงและการสร้างสรรค์โครงการ ได้แก่ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล
3.สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนต่างประเทศทันสมัยให้สอดคล้องกับรูปแบบและหลักสูตร
4.สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณและโรงเรียนได้จัดซื้อสื่อการเรียนการสอนจากต่างประเทศ รวมทั้ง ได้ประสานงานโครงการความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร และโรงเรียน Australian Science and Mathematics School ประเทศออสเตรเลีย
5.พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโครงการให้สามารถบริหารจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่ และจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษได้ตามมาตรฐานสากล
6. พัฒนาผู้บริหารผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการให้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ การสื่อสารภาษาอังกฤษและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามโครงการ
7. พัฒนาครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยการพัฒนาครูในกลุ่มสาระต่างๆ ร่วมกับ Britlsh Council เรื่อง Connecting Classroom เพื่อบูรณาการกลุ่มสาระต่างๆ และการเชื่อมโยงห้องเรียนในประเทศกับห้องเรียนของ Partner Schools ในต่างประเทศ ทดสอบระดับความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษของครูกลุ่มสาระต่างๆ ที่จะสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษให้ครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อใช้ผลการทดสอบในการจัดหลักสูตรพัฒนาการใช้และการสอนโดยภาษาอังกฤษให้เหมาะสมกับระดับความรู้
8. พัฒนารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หัวหน้าสำนักงานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) เรื่อง Coaching & Mentoring เพื่อเป็น Support Team ให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

========================================================================================
การติดตาม ประเมินผลโครงการ
สพฐ.ได้มีการติดตามและประเมินผลโครงการโดยการจัดจ้างทีมงานวิจัยเพื่อประเมินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเพื่อใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการในปีต่อไป พร้อมทั้งแต่ตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) โดยแบ่งคณะกรรมการติดตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เป็น 4 คณะเพื่อติดตามโรงเรียน ทั้ง 3 รูปแบบ และมอบให้คณะทำงานโครงการเดินทางไปนิเทศเรื่องการทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ สำหรับโรงเรียนที่ต้องการคำปรึกษา และประเมินผลโครงการเพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุน นิเทศ และช่วยเหลือการดำเนินการของโรงเรียน และจัดผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยโรงเรียนในการบริหารจัดการโครงการ
การประชาสัมพันธ์ และจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการให้ประชาชนทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งนานาประเทศได้รู้จักโครงการ
สพฐ.ได้อนุมัติแผนการประชาสัมพันธ์โดยจัดทำสารคดี VDO Presentation ในภาพรวมของโครงการ และแต่ละโรงเรียนทำการประชาสัมพันธ์โดยใช้หนังสือ แผ่นพับ ป้ายโฆษณาการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ พร้อมทั้ง จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนในโครงการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในท้องถิ่นและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการประชาสัมพันธ์ในประเทศเพื่อนบ้านโดยการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์หลากหลายภาษาและขอความร่วมมือหน่วยงานในท้องถิ่นที่เดินทางไปประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการด้วยรวมทั้งการจัดนิทรรศการ เชิญผู้ปกครองและชุมชนเข้าเยี่ยมโรงเรียนและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ
ความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะทำให้โครงการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นการพัฒนาโรงเรียนทั้ง 14 แห่ง ให้มีมารตรฐานในระดับสากลและมีความหลากหลายด้านหลักสูตรจะสามารถรองรับนักเรียนต่างชาติ และพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=767c69cb00a8ed95&pli=1

ภาษาอาเซียน


ครูผู้สอนดีเด่น


This slideshow requires JavaScript.